การใช้ Verbs
Verb to be มีหลักการใช้ ดังนี้
1. ถ้าเป็นกริยาสำคัญในประโยค มีความหมายว่า เป็น อยู่ คือ
2. ใช้วางข้างหน้า กลุ่มคำ adjective
( คำคุณศัพท์ )
3. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Continuous
( ประโยคที่มีกริยา ing )
4. ใช้เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของประโยค Passive
Voice ประโยคที่ประธาน
เป็นผู้ถูกกระทำ)
เป็นผู้ถูกกระทำ)
หลักการใช้กับประธานในประโยค
1. ถ้าประธานที่เป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 ซึ่งได้แก่ He She
It หรือ ชื่ของคน
คนเดียว สัตว์ตัวเดียวและสิ่งของอันเดียวที่ถูกกล่าวถึง Verb to be ที่ใช้ คือ is เช่น
คนเดียว
*He is a
teacher. *Sam is a singer
*She is
in the room. *My father is sleeping.
*It is a
dog. *The pencil is on the table
2. ถ้าประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 1 ( ผู้พูดคนเดียว ) ซึ่งได้แก่ I
Verb to be ที่ใช้ คือ am
*I am a
student. * I am under the table.
3. ประธานเป็นพหูพจน์ทุกบุรุษ ซึ่งได้แก่ We
You They หรือ ชื่อคนหลาย
สัตว์หลายตัว และสิ่งของหลายอันที่ถูกกล่าวถึง Verb
to be ที่ใช้ คือ are เช่น
*We are nurses.
*My father and I are in the room.
*They are
policemen. *Suda and her friends are under the tree.
*You are
very good. *The players are in the playground.
Verb to be ( is , am , are)
การสร้างประโยคที่มีVerb to be ให้เป็นประโยคปฏิเสธ. มีวิธีการดังนี้
เติม not ลงไปในตำแหน่งที่เรียงต่อจาก Verb
to be หลัง is am
are เช่น
· He is
not in the room.
· I am
not a child.
· They
are not teachers.
· Suda is
not reading.
หมายเหตุ รูปย่อของ ปฏิเสธ Verb
to be คือ is
not ย่อเป็น isn’t
am
not จะไม่ใช้รูปย่อ are
not ย่อเป็น aren’t
การทำประโยคที่มี Verb
to be ให้เป็นประโยคคำถาม Yes
No Question มีหลักการ ดังนี้ เอา Verb
to be มาวางหน้าประโยค และเอาประธานของประโยคมาวางเรียงต่อจาก Verb
to be
หลังจบประโยค ต้องใส่เครื่องหมายคำถาม เช่น
He is in
the room. เปลี่ยนเป็น Is he in
the room ?
They are
soldiers เปลี่ยนเป็น Are they
soldiers?
I am a
boy. เปลี่ยนเป็น Am I a
boy ?
Verb to have
การใช้ have
, has
1. เป็นกริยาสำคัญในประโยค แปลว่า มี หรือ รับประทาน
2. เป็นกริยาช่วยในโครงสร้างของรูปประโยค Perfect
Tense.
แยกใช้กับประธานในประโยคดังต่อไปนี้
1. ประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 ซึ่งได้แก่ He She It หรือ ชื่อคนคนเดียว สัตว์ตัวเดียว และสิ่งของอันเดียวที่ถูกกล่าวถึง ใช้ has เช่น
*He has
many pens. *Dang has a dog.
*Her
sister has a dool. *This cat has a short ear.
2. ประธานที่ไม่ใช่เอกพจน์บุรุษที่ 3 ทั้งหมด ใช้ have เช่น
*They
have a big buffaloes. *The foxes have long ears.
*I have
breakfast. *We have a big farm.
การสร้างประโยคที่มี have
, has ให้เป็นประโยคปฏิเสธ
ใช้ do
does เข้ามาช่วย โดยให้สอดคล้องกับประธาน คือ
1. ถ้าประธานเป็นเอกพจน์ บุรุษที่ 3 ซึ่งได้แก่ He
She It คนคนเดียว สัตว์ตัวเดียว และสิ่งของอันเดียวที่ถูกกล่าวถึง ใช้ does ตามด้วย not เป็น does
not . เช่น
He does
not have brother.
She does
not have money.
It does
not have a tail.
James
does not have any pens.
does
not ใช้รูปย่อเป็น doesn’
t
2. ถ้าประธานเป็นตัวอื่นที่ไม่ใช่เอกพจน์บุรุษที่ 3 ใช้ do ตามด้วย not เป็น do not
.
They do
not have any brother.
We do not
have any money.
You do
not have a tail.
James and
Susan do not have any pens.
do
not ใช้รูปย่อเป็น don’t
หมายเหตุ ในประโยคปฏิเสธไม่ว่าประธานจะเป็นพจน์หรือบุรุษใด ใช้ have ทั้งหมด
การทำประโยค ที่มี have
has ให้เป็นประโยคคำถาม ที่ต้องการคำตอบ Yes หรือ No หรือ Yes
No Questions . มีหลักการดังนี้
1. เอา do
does เข้ามาช่วย โดยวางไว้หน้าประโยค และต้องอยู่หน้าประธานของประโยค
2. ผัน do
does …ให้สอดคล้องกับประธานของประโยค
3. ในประโยคคำถามให้ใช้ have เพียงตัวเดียวเท่านั้น หลังจบประโยคต้องใส่เครื่องหมายคำถาม เช่น
We have
some money = Do we have some money ?
It has a tail.
= Does it have a tail. ?
James and
Susan have pens. = Do James and Susan have pens ?
He has a
big baffalo. = Does he has a big baffalo.?
Do และ Does มีหลักการใช้คือ ถ้าเป็นกริยาสำคัญหรือกริยาแท้ในประโยคจะมีความหมายว่า ทำต้องแยกใช้ไปตามประธานของประโยคให้ถูก เช่น
He does
his homework.
They do
their homework.
เป็นกริยาช่วยในประโยคคำถามและปฏิเสธที่มีกริยาแท้อยู่แล้วในประโยค และประโยคนั้นไม่มีVerb
to be ( is am are ) .ในบริบทของประโยคเช่นนี้ do ,
does จะไม่มีความหมาย เป็น เพียงตัวช่วย เช่น
He does
not have any sisters.
We do not
buy a big car.
Remark
:Verb to be ไม่อยู่ เอา Verb
to do เข้ามาช่วย
do
not ใช้รูปย่อเป็น don’t
/ does not ใช้รูปย่อเป็น doesn’t
แยกใช้ไปตามประธานของประโยค ดังนี้
1. ประธานเป็นเอกพจน์บุรุษที่ 3 (
He , She , It ชื่อคนคนเดียว สัตว์ตัวเดียว และสิ่งของอันเดียว ที่ถูกกล่าวถึง ) ใช้ Does.
2. ประธานเป็นไม่ใช่เอกพจ น์บุรุษที่ 3 ( I
, You , We , They ชื่อคน
หลายคนสัตว์หลายตัวสิ่งของหลายอย่างที่ถูกกล่าวถึง ) ใช้ Do
หลายคนสัตว์หลายตัวสิ่งของหลายอย่างที่ถูกกล่าวถึง ) ใช้ Do
การใช้ Verb
to do ในประโยคปฏิเสธ มีหลักการดังนี้
1. Verb to do เป็นเพียงกริยาช่วย ( Helping
Verb ) ไม่ใช่กริยาแท้
2. กริยาแท้ของประโยคต้องใช้รูปเดิม ( Base
form ) จะไม่มีการเติมหรือเปลี่ยนไปเป็นช่องใดทั้งสิ้น นะครับ
ประโยคบอกเล่า He likes
cartoon.
ประโยคปฏิเสธ He
doesn’t like cartoon.
ประโยคบอกเล่า They play
football.
ประโยคปฏิเสธ They
don’t play football.
การใช้ Verb
to do ในประโยคคำถาม มีดังนี้
1. Yes / No Questions
1. ใช้ Verb
to do วางหน้าประโยค ตามด้วยประธานของประโยคและกริยาแท้ของประโยควางเรียงต่อมา
ตัวอย่าง เช่น กริยาแท้ใช้ Base
form ( รูปเดิมที่ไม่ต้องเติมหรือผัน )
ประโยคบอกเล่า He likes
cartoon.
ประโยคคำถาม Does he
like cartoon ?
ประโยคบอกเล่า They play
football.
ประโยคคำถาม Do they
play football. ?
2. Wh. Questions
1. ใช้ Verb to
do วางข้างหลัง Wh. และหน้าประธานของประโยค ตามด้วยกริยาแท้ของประโยควางเรียงต่อมา ตัวอย่างเช่น
ประโยคคำถาม What does
he want ?
ประโยคคำตอบ He wants
a pen.
ประโยคคำถาม When do
you have lunch ?
ประโยคคำตอบ I have
lunch at 12.00.
Auxiliary Verb ( กริยาช่วย ) Verb ช่วย 24 ตัว มีดังนี้
is, am,
are, was, were
have,
has, had
do, does,
did
will,
would
shall,
should
can,
could
may,
might
must
need
dare
ought to,
used to
วิธีการใช้
1. ถ้าประโยคนั้นมีกริยานุเคราะห์ 24 ตัวนี้ตัวใดตัวหนึ่งปรากฏอยู่ในประโยคแต่เพียงลำพังไม่มีกริยาอื่นเข้ามาร่วมประโยคนั้นกริยานุเคราะห์ทำหน้าที่เป็นกริยาแท้
2. ถ้าประโยคกริยานุเคราะห์มาร่วมกับกริยาตัวอื่น มันก็ทำหน้าที่เป็นกริยาช่วยไปไม่ใช่เป็นกริยาแท้
หน้าที่ของVerb to be
1. วางไว้หน้ากริยาที่มี ing ทำให้ประโยคนั้นเป็นcontinuous Tense มีความหมายแปลว่า กำลัง ทุกครั้งไป
2. เมื่อวางไว้หน้ากริยาช่อง 3 (เฉพาะสกรรมกริยา ) ทำให้ประโยคนั้นเป็นกรรมวาจก ( Passive
Voice ) มีความหมาย แปลว่า ถูก เป็นเอกลักษณ์
3. วางไว้หน้ากริยาสภาวะมาลา (Infinitive)
แปลว่า จะต้อง มีความหมายเป็นอนาคตกาลเพื่อแสดงถึงความจงใจ หรือตั้งใจ
หน้าที่ของVerb to do
1. ช่วยทำประโยคบอกเล่าให้เป็นประโยคคำถาม
2. ช่วยทำให้ประโยคบอกเล่าเป็นประโยคปฏิเสธ ในกรณีที่ประโยคนั้น Verb
to have ไม่มี Verb to be ไม่อยู่ Verb
to do จึงต้องมาช่วยให้เป็นปฏิเสธ
3. ใช้หนุนกริยาตัวอื่นเพื่อให้เกิดความสำคัญกับกริยาตัวนั้นว่าจะต้องทำเช่นนั้นจริงๆหรือเกิดขึ้นจริงๆโดยให้เรียงไว้หน้ากริยาที่มันไปหนุน
4. ใช้แทนกริยาตัวอื่นที่อยู่ประโยคเดียวกันเพื่อต้องการมิให้ใช้กริยาตัวเดิมนั้น ซ้ำๆซากๆ
5. Verb to do ถ้านำมาใช้เป็นกริยาแท้แปลว่า ทำ เช่น He
does his home work every day. (เขาทำการบ้านของเขาทุกๆวัน)
หน้าที่ของ Verb
to have
1. เรียงไว้หน้ากริยาช่อง3ทำให้ประโยคนั้นเป็น Perfect
Tense (สมบูรณ์การ)
2. ใช้โดยมีกริยาสภาวมาลา ( Infinitive
) ตามหลังมีความหมายแปลว่า ต้อง ตลอดไป
3. ใช้ให้เกิดความหมายเท่ากับเหตุกัตตาประโยค คือประโยคที่ทำให้ผู้อื่นกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้
ในกรณีเช่นนี้ต้องใช้รูปประโยค
Have
+ Noun + Verb 3
หน้าที่ของ Will,
Shall, Would, Should
Will ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตและใช้กับประธานที่เป็นบุรุษที่ 2 - 3
และนามเอกพจน์หรือพหูพจน์ทั่วไป
Shall ทำหน้าที่ช่วยกริยาตัวอื่นเพื่อให้เป็นอนาคตกาลและใช้กับประธานที่เป็นุรุษที่ 1 เท่านั้น
Would ใช้เป็นกริยาช่วยดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นอดีตของ Will ในประโยคที่เปลี่ยนข้อความมาจาก indirect
speech
2. ใช้เป็นกริยาในสำนวนการพูด อยากจะ, อยากให้ ในกรณีเช่นนี้ใช้กับทุกพจน์ทุกบุรุษและมีความหมายเป็นปัจจุบันกาลธรรมดา
3. ใช้กับสำนวนการพูดว่า ควรจะ…ดีกว่า ควบกับ better
หรือ rather
ได้กับทุกพจน์บุรุษ
Should แปลว่า ควร หรือควรจะ ถือเป็นปัจจุบันกาลใช้ได้กับทุกตัวประทานซึ่งส่วนมากมักจะใช้แทน ought to โดยเฉพาะภาษาพูด
หน้าที่ของ May,
Might
May นำมาช่วยดังนี้
1. เพื่อแสดงความมุ่งหมาย
2. เพื่อแสดงความปรารถนาหรืออวยพรให้
3. ช่วยเพื่อแสดงถึงการอนุญาตหรือการขออนุญาต
4. ช่วยเพื่อแสดงการคาดคะเน
5. ช่วยเพื่อแสดงความสงสัย
Might นำมาใช้ช่วย ดังนี้
1. ใช้เป็นอดีตของ may
2. ใช้ในกรณีที่ผู้พูดไม่แน่นอนใจจะทำหรือไม่
( แต่หากแน่นอนใจให้ไปใช้ may แทน )
การใช้ Need,
Dare, Ought to, Used to
Need ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า จำเป็นต้อง ใช้ได้กับทุกบุรุษและทุกพจน์ ส่วนมากมักจะใช้เป็น กริยาช่วยในประโยคคำถามและประโยคปฏิเสธเท่านั้นกริยาแท้ที่ตามหลัง Need
ไม่ต้องใช้ to นำหน้า
Need ถ้าเป็นกริยาแท้แปลว่า ต้องการ และเปลี่ยนรูปไปตามบุรุษ,พจน์,กาล เหมือนกริยาทั่วๆไป
Dare ถ้าเป็นกริยาช่วยแปลว่า กล้า ใช้ได้กับทุกบุรุษทุกพจน์และเป็นปัจจุบันกาล Infinitive
ที่ตามหลังเป็น Infinitive ที่ไม่มี to
Ought to แปลว่า ควรจะ ตัวนี้เป็นกริยาพิเศษทั่วๆไปกล่าวคือเมื่อเป็นประโยคบอกเล่าก็เรียง ought
to ไว้หลังตัวประธานในประโยคและกริยาแท้ที่ตามหลัง ought
to ก็ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไปหากเป็นคำถามก็ให้เอาเฉพาะ ought
ขึ้นไปวางไว้ต้นประโยคและเมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ให้เติม not ลงข้างหลัง ought
Used to แปลว่า เคย เป็นกริยาพิเศษที่มีความหมายว่า เคยกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดในอดีตเป็นประจำแต่บัดนี้ไม่ได้ทำการนั้นอีกแล้วกริยาที่ตามหลัง used
to ต้องเป็นกริยาช่อง 1 ตลอดไปหากเป็นประโยคบอกเล่าให้เรียงไว้หลังประธานเป็นคำถามนำเอา Did ขึ้นไปวางไว้ต้นประโยคและเมื่อทำเป็นประโยคปฏิเสธก็ให้เติม did ก่อนแล้วจึงเติม not ลงไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น